About

 

333

ประวัติคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร

การพัฒนาประเทศไทยที่ผ่านมานั้นเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่สมดุล และส่งผลให้สังคมมีภูมิคุ้มกันลดลง เพื่อให้การพัฒนาประเทศด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรสู่ความสมดุลอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นอย่างยิ่งและถูกกำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 โดยเฉพาะเพื่อรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่รวดเร็วและรุนแรง ทั้งในด้านการเปิดการค้าเสรี การกีดกันการค้าด้วยมาตรการภาษีและมิใช่ภาษี กระแส     โลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาวิกฤติเศษฐกิจ วิกฤติทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดตั้ง “คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร” ขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพื่อสร้างบุคลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ที่มีความรู้ทางวิชาการ รู้จักแสวงหาความรู้ตลอดเวลา สามารถนำความรู้มาปรับใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้าง “เทคโนโลยี”ที่เหมาะสมกับตนเอง และมีคุณภาพปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา

สำหรับการดำเนินงานในระยะเริ่มต้น มีการโอนย้ายบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการบางส่วนจากภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์    มาสังกัดคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร และโอนย้ายหลักสูตร วท.บ. วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนตั้งแต่ปี       พ.ศ. 2529 จากคณะวิทยาศาสตร์ มาเปิดที่คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยเปิดรับนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ในปีการศึกษา 2552 เป็นปีแรก จำนวน 64 คน

ทั้งนี้คณะ ฯ ยังมีแผนที่จะขยายสาขาวิชาเพิ่มเติม ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป โดยสาขาวิชาที่เพิ่มเติมจะมีลักษณะบูรณาการกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตรสำหรับท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน และอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้นดังนี้

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาตร์การอาหารและโภชนาการ
เป็นการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และโภชนศาสตร์มาแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เสริมสร้างสุขภาพของผู้บริโภคให้แข็งแรง และสามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านอาหารให้เกิดคุณภาพที่เหมาะสม

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์
เป็นการนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาแปรรูปวัตถุดิบท้อง ถิ่นทางการเกษตรให้เป็นวัสดุที่มีมูลค่าเพิ่มและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์การเกษตร
เป็นการนำความรู้ด้านชีววิทยา จุลชีววิทยา พันธุศาสตร์ และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องมาเปลี่ยนแปลงชีววัตถุจากผลผลิตการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

4. หลักสูตรนวัตกรรมอาหาร และธุรกิจ
เป็นการนำความรู้ทางด้านนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร และด้านธุรกิจ บูรณาการให้เกิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้บริโภค มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีโอกาสเป็นไปได้ทางธุรกิจสูง 

เป้าหมายการดำเนินการของคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร

พัฒนาองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ในระดับชาติไปสู่ระดับสากล ทั้งในการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อชุมชม ประเทศ และมนุษยชาติ

  • วิสัยทัศน์

       แหล่งศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และขับเคลื่อนการสร้างสรรค์ นวัตกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

  • พันธกิจ

    1.ผลิตบัณฑิต และพัฒนากำลังคน ที่มีความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร มีทักษะในการทำงาน และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีกระบวนการคิดในการสร้างนวัตกรรม มีแนวคิด (mindset) และทักษะในการริเริ่มกิจการ (startup process) และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur skill) บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม

    2.ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร ที่มีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา ความเชี่ยวชาญ และหน่วยงานทั้งในประเทศและนานาชาติ รวมทั้งความร่วมมือร่วมสร้างสร้างสรรค์กับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม

    3.เป็นศูนย์การบริการวิชาการด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร ส่งเสริม สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพให้แก่ชุมชน ภาคการผลิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และโอกาสในการแข่งขัน โดยมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและนานาชาติ

    4.ส่งเสริมการอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอดภูมิปัญญา และการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อชุมชน ประเทศ และมนุษยชาติ

    5.มีการบริหารจัดการคณะอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

    ค่านิยม 

    AISWU

    A (Achievement) = การทางานโดยมีเป้าหมายคือความสาเร็จ

    I (Innovation) = นวัตกรรม 

    S (Social responsibility) = ความรับผิดชอบต่อสังคม 

    W (Work smart) = ทางานอย่างชาญฉลาด

     U (Unity) = เป็นน้าหนึ่งใจเดียว

CONTACT

คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Faculty of Agricultural Product Innovation and Technology

63 หมู่ 7 ชั้น 5 อาคารนวัตกรรมแห่งความยั่งยืน (ISB) ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120

โทร 02 649 5000 ต่อ 27167

E-mail  aiswu@g.swu.ac.th

พิกัด GPS : 14.105399, 100.982440

LINK

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย

ส่วนส่งเสริมและบริการการศึกษา